พี่สมศักดิ์ บัดทิม
เกษตรกรปลูกอ้อย จังหวัดนครราชสีมา และเพชรบูรณ์
พี่สมศักดิ์ บัดทิม เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรปลูกอ้อยที่ประสบความสำเร็จที่สุดคนหนึ่งในแดนอิสานใต้ ปัจจุบัน พี่สมศักดิ์เป็นเกษตรกร และเจ้าของไร่อ้อยกว่า 570 ไร่ “จริง ๆ ผมมีไร่อ้อยอยู่ที่อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมาอยู่ประมาณ 200 ไร่ แล้วก็มีที่อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์อีกประมาณ 370 ไร่ อ้อยที่ผมใช้เป็นพันธุ์ขอนแก่น 3 เพราะว่ามันให้ผลผลิตดี โตไว นับจนถึงปัจจุบันก็ 30 กว่าปีได้แล้วที่ปลูกอ้อยมา ในละแวกใกล้เคียงปากช่องบ้านผมก็ปลูกไร่อ้อยกันทั้งนั้นนะ”
เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญในการช่วยลดเวลา และเพิ่มผลผลิต
“ก่อนหน้านี้มีแค่ 30 กว่าไร่ ฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยทีก็อาศัยคนงานเขาตัดนะในเริ่มแรก แต่ปัจจุบันนี้มีจำนวนไร่เยอะขึ้น เลยใช้อุปกรณ์เครื่องมือมาช่วย ทั้งพวกเครื่องจักรที่ช่วยพรวนดิน รถไถ รถปลูก รถตัดอ้อย สบายขึ้นเยอะ พอฤดูเก็บเกี่ยว ขับรถพ่วงวิ่งตามรถตัด มันจะพ่นต้นอ้อยใส่รถให้เลย แล้วอีกอย่างต้นอ้อยเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ถ้าฟ้าฝนดีก็ดีไป แต่ถ้าฟ้าฝนไม่ดี หน้าแล้งอย่างนี้ผมก็ลากสายทำน้ำหยดเอา เดี๋ยวนี้ผมใช้รถไถลากแท็งก์ยิงลงดินเลย ก็เหมือนทำน้ำหยดนั่นแหละ แบบนี้ไม่ต้องรอฝนเราก็ได้น้ำที่เพียงพอได้”
ปุ๋ยยารามีร่า แอ็ดว้านซ์ 21-7-14 คือที่ 1 ในดวงใจ
“เริ่มแรกผมใช้ทั้งปุ๋ยชีวภาพ แล้วก็ใช้ปุ๋ยแบรนด์ตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป แต่พอมาใช้ปุ๋ยยาราแล้วได้ผลผลิตที่ได้ออกมาดีกว่ากันมาก ต้นอ้อยจะโตไวสูง 3 เมตรเลย แข็งแรงมาก ต้นมันอวบ ต้นจะเขียวตลอด ทนแล้งได้ดีกว่า เกิดโรคน้อยมากแทบไม่มีเลย เรื่องเชื้อราที่กออ้อยก็ไม่เป็น น้ำหนักอ้อยที่ได้ก็จะได้เยอะ แล้วความหวานของต้นอ้อยที่ได้ก็จะดีกว่า ในการลงอ้อยครั้งหนึ่งเราจะตัดได้ไม่เกิน 5 ตอ (เก็บเกี่ยวปีละครั้ง รอกอแตกใหม่ไม่เกิน 5 ครั้ง) ต้นอ้อยเนี่ยถ้าเอาไว้หลายตอ มันจะให้น้ำหนักได้ไม่ดี ถึงมันจะโตจะสูง แต่น้ำหนักไม่ได้ การแข็งแรงจะสู้อ้อยใหม่ไม่ได้ เลยต้องตัดได้แค่ 5 ตอเท่านั้น ส่วนในช่วงเก็บเกี่ยว ตัดต้นอ้อยส่งเข้าโรงงานทีนี่เฉลี่ยประมาณ 15 ตันต่อไร่ได้”
“ตอนช่วงเตรียมดินแรก ๆ ก็จะใส่ปุ๋ยคอก พวกขี้ไก่ ขี้วัวลงไปก่อน พอต้นอ้อยโตขึ้นสูงประมาณหัวเข่าเราก็ใช้ปุ๋ยยารานี่แหละฝังลงไปเลย คือ เรามีเครื่องมือเครื่องจักรครบใช่ไหม เหมือนระเบิดดินนั่นแหละแล้วฝังปุ๋ยยาราลงไปเลย ผมทำให้รากมันลงไปกินข้างล่างใต้ดินมันจะชุ่มกว่ามาก เพื่อน ๆ เกษตรกรมาที่ไร่ เขามาดูเห็นว่าผลผลิตของเราดี ต้นสวย น้ำหนักดี ผมก็แนะนำปุ๋ยยาราตัวนี้ไปลองดู เดี๋ยวนี้ก็ใช้ตามกันหมดแล้ว ”
ปุ๋ยคุณภาพ ที่เข้าถึงง่าย
“ผมสั่งปุ๋ยยาราทีมาเป็นรถพ่วง 700-800 ลูกได้ มีร้านประจำเขามาส่งให้ถึงบ้านเลย อีกอย่างปุ๋ยยาราเก็บไว้ได้นาน จริง ๆ ผมเก็บไว้ไม่ถึง 3-4 เดือนหรอก ถ้าช่วงฝนตกก็โรยหมด ไม่พอก็ไปซื้อทีละร้อยสองร้อยลูก ก็สั่งเรื่อย ๆ มาสต๊อกไว้ ปุ๋ยเขาดีไม่ชื้นไม่เป็นก้อน”