คุณภูวศิษฐ์ วรกิตฐากรณ์
เจ้าของสวนยางพารา 300 ไร่ จ.ตรัง
กว่า 45 ปี ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการยางพาราไทย ทำให้ โกชัย หรือ คุณภูวศิษฐ์ วรกิตฐากรณ์กรณ์ เกษตรกรแถวหน้า แห่งเมืองตรัง ผู้มีประสบการณ์และเทคนิคสำคัญเกี่ยวกับกสรปลูกยางพารา ซึ่งการันตีด้วยรางวัลชนะเลิศการประกวดกล้ายางชำถุง งานวันยางพารา ปี 2536
โกชัย เจ้าของสวนยางพารากว่า 300 ไร่ แห่งจังหวัดตรัง ได้แนะนำถึงวิธีปลูกยางพาราและผลิตต้นพันธุ์จำหน่าย เรื่มจากการวางแผนการปลูกที่ดี พร้อมกับตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผลิตเป็นที่น่าพอใจละสร้างรายได้ให้อย่างงาม
ปลูกยางอย่างไร ให้ได้ปริมาณน้ํายางมากขึ้น
เทคนิคการปลูกยางเพื่อให้ได้ปริมาณน้ํายางมากและเปอร์เซ็นต์น้ํายางสูง โกชัยแนะนําว่า กิ่งตา ที่ใช้ปลูกเป็นแม่พันธุ์ ต้องปลูกไว้อย่างน้อย 3 ปี คัดต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุด เลือกกิ่งที่ชี้ตรง ลักษณะเมล็ด คล้ายข้าวสาร น้ํายางจะออกมาก ส่วนกิ่งที่ซื้ออกด้านข้างคือกิ่งไม่สมบูรณ์ เมล็ดมีลักษณะกลมๆ เล็กๆ จ ซึ่งเป็นสายพันธุ์กลาย น้ํายางจะออกน้อย ส่วนสภาพดินต้องเหมาะกับยางแต่ละสายพันธุ์ที่นํามาปลูก เช่น พันธุ์ 251 ควรปลูกกับดินทราย พันธุ์ 600 เหมาะกับดินลูกรัง ถ้าพื้นที่ที่ปลูกมีสภาพดินไม่ดี และ และเป็นที่ต่ํา ให้ปรับปรุงบํารุงดิน และนําพันธุ์ 251 และพันธุ์ 600 ปลูกได้ แต่ดินที่เหมาะกับการปลูกยาง ที่สุดคือ ดินบนเขาบนเนิน
ตัวช่วยที่ดีที่สุด “ปุ๋ยยารา"
แปลงยางพาราของโกชัย เป็นแปลงแห่งการศึกษาเรียนรู้ เช่น น้ําแม่พันธุ์มาปลูกเพื่อดูว่าปลูกพันธุ์ใด ดีที่สุด รวมทั้งการติดตาและการกรีดยาง ซึ่งโกชัยเน้นว่า การใส่ปุ๋ยถูกสูตรและถูกช่วงเวลาที่พืชต้องการ มีผลให้ได้น้ํายางปริมาณมาก และได้เปอร์เซ็นต์น้ํายางที่ดีปุ๋ยที่ดีและมีคุณภาพที่โกชัยเลือกใช้คือ “ปุ๋ยยารา”
โกชัยเลือกใช้ “ปุ๋ยยารามีร่า 25-7-7” เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง ช่วยในการขยาย ลําต้นและทําให้ผนังลําต้นมีความแข็งแรง เริ่มใช้ตั้งแต่การบํารุงต้นกล้า จนถึงการลงปลูก ยางใหม่ ช่วง 1-2 ปีแรก ช่วงนี้จะใส่อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ระยะช่วงปีที่ 2-6 ใส่ “ปุ๋ยยารามีร่า 25-7-7” สลับกับ “ปุ๋ยยารามีร่า 16-11-14” เพื่อเร่งการสร้างใบให้สมบูรณ์ ใส่อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
หลังจากเปิดกรีดหน้ายางแล้ว โกชัยจะเปลี่ยนมาใส่ ปุ๋ยยารามีร่า แอ็ดว้านซ์ 21-7-14” สลับกับ “ปุ๋ยยารามีร่า 15-15-15” เพราะฟอสฟอรัสที่อยู่ในปุ๋ยยารามีความแตกต่าง จากปุ๋ยทั่วไป คือ ต้นยางสามารถดึงไปใช้งานได้อย่างยาวนาน บํารุงต้นยางให้ได้รับ ธาตุอาหารสม่ําเสมอและสมบูรณ์เต็มที่
ปุ๋ยคุณภาพกับความแตกต่าง ที่เลือกได้
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากการใช้ปุ๋ยยารา คือ
1. ขนาดลําต้น อายุเพียงแค่ 5 ปี ได้ขนาดต้น ถึง 50 เซนติเมตร ถ้าไม่ใช้ปุ๋ยยารา กว่าจะได้ลําต้น ขนาดเท่านี้ ต้องใช้เวลาปลูกถึง 7 ปี
2. ปริมาณน้ํายางต่อไรเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า จํานวนต้นยาง 1,200 ต้น เท่ากัน ถ้าไม่ใช้ปุ๋ยยาราจะได้น้ํายางแค่ 100 กิโลกรัม กว่าเท่านั้น แต่ของโกชัยกรีดได้ถึง 300 กิโลกรัม
3.เปอร์เซ็นต์น้ํายางสูงขึ้น 40% เมื่อใส่ปุ๋ยยารา ตามสูตรที่แนะนําและใส่อย่างสม่ําเสมอ แต่ขึ้นอยู่ กับสายพันธุ์ที่ปลูกด้วย
4. รายได้รายวันสูงกว่า 3 เท่า กรีดยางได้วันละ 2 ตัน (กรีด 3 วัน หยุด 2 วัน) ราคาน้ํายางสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 39-40 บาท (ราคาในเดือนมกราคม 2563) และมีกําไรเพิ่มจาก เปอร์เซ็นต์น้ํายางที่ทําได้สูง อีกตันละ 1,000 บาท ยิ่งเปอร์เซ็นต์น้ํายางดี น้ําหนักโดยรวมก็ดีขึ้นด้วย
เคล็ดลับที่ทําให้มีกําไร
หลายปีที่ผ่านมา แม้สถานการณ์ราคายาง จะไม่ค่อยดีนัก โกชัยก็ไม่คิดเปลี่ยนใจไปปลูกพืช ชนิดอื่น ถึงราคายางจะตก แต่การดูแลบํารุงรักษา และเลือกใช้ปุ๋ยคุณภาพอย่าง “ปุ๋ยยารา” ก็ทําให้ มีรายได้เข้ามาทุกวัน มองเห็นกําไรอยู่ เมื่อคํานวณ ต้นทุนดูแล้วทําสวนยางก็มีความคุ้มค่า เช่นลงทุนปลูก 7 ปี จํานวน 10 ไร่ ใช้ทุนประมาณ 300,000 - 400,000 บาท เปิดกรีด 5 ปี ก็คืนทุน นอกนั้นคือ กําไรตลอดชีวิต
โกชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “มีทุกวันนี้ ได้เพราะยางพาราทั้งหมด ถึงไม่ได้เรียน หนังสือ แต่ก็สามารถส่งลูก 3 คน เรียนจบ ปริญญาโทได้ มีบ้าน มีรถ มีที่ดิน มีสวนยาง 300 ไร่ มาจากยางพาราทั้งนั้น”