เฮียประมุข

เจ้าของสวนยางพารา 1,000 ไร่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

 

rubber farmer

 

ใครจะรู้ว่าจากหนุ่มนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะกลายมาเป็นเจ้าของสวนยาพารากว่าพันไร่ เป็นเวลากว่า 40 ปีที่คุณประมุข  หรือเฮียประมุขทายาทรุ่นที่ 3 ของครอบครัว ศิริคุรุรัตน์ ผันตัวเองกลายมาเป็นเจ้าของ และเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราอย่างเต็มตัว ในอำเภอ สะเดา จังหวัด สงขลา

  “การทำสวนยางพาราถือเป็นอาชีพของครอบครัวผมมาหลายสิบปีแล้ว ตั้งแต่รุ่นปู่ มารุ่นพ่อ แล้วก็มารุ่นผม คือ เกิดมาก็เห็นต้นยางแล้วว่างั้นเถอะ พอผมเข้ามาสานต่อสวนยางของพ่อ ก็ต้องเรียนรู้ ทั้งฝึกฝนเอง แล้วก็ดูว่าคนเก่าคนแก่เขาทำกันอย่างไร ถามคนนู้นคนนี้บ้าง ก็ศึกษามาเรื่อย ลองผิดลองถูกมาก็มาก ผลผลิตที่ได้ก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง จนมาเจอยารานี่แหละ ทำให้วิถีการเป็นเกษตรกรสวนยางของผมง่ายขึ้นมาก”  

rubber farmer

 

ทำไมต้องเป็นต้นยางพารา?

“ก็คนอำเภอสะเดากว่า 90 เปอร์เซ็นต์เขาก็ทำสวนยางพารากันทั้งนั้น ตั้งแต่รุ่นไหน ๆ แล้ว บางคนก็มีทำสวนปาล์ม มีทุเรียนด้วย นี่ก็คิดอยากลองปลูกอย่างอื่นด้วยเหมือนกันนะ”

rubber farmer

ปลูกยางอย่างไรให้ได้น้ำยางดั่งใจหวัง!

“การทำสวนยางพาราให้ได้น้ำยางเยอะ ๆ มันมีหลายปัจจัย น้ำยางจะออกดีหรือไม่ดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับอะไร 1. ปุ๋ย 2. สภาพอากาศ 3. อายุของต้นยาง 4.สายพันธุ์ยางพารา 5.ระบบการกรีดยาง มันมีหลายสาเหตุ อย่างสภาพดินฟ้าอากาศ เอาจริง ๆ ปีหนึ่งมี 365 วัน กรีดได้แค่ครึ่งปีเองนะ ถ้าฝนตกนี่ก็กรีดยางไม่ได้ รวมถึงช่วง “หยุดยาง” คือ ช่วงที่ยางผลัดใบก็กรีดไม่ได้ มันเป็นแบบนี้ทุกปี ต่อมาอายุของต้นยางถ้าต้นยางแก่มาก ๆ ไม่มีน้ำยางแล้วก็ต้องโค่นลงเพื่อปลูกใหม่ ตอนนี้ผมก็เริ่มปลูกใหม่เหมือนกัน 100 กว่าไร่”

“และสุดท้ายสำคัญที่สุด คือ ปุ๋ย ที่สวนของผมใช้ปุ๋ยยาราอยู่ ผมเลือกใช้ปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมตามอายุของต้นยาง ช่วงแรกยางเริ่มปลูก 1 ปี ถึง 5 ปี ก็จะใช้ สูตรยารามีร่า 25-7-7 สลับกับ 15-15-15  ช่วงเริ่มเปิดกรีดก็ใช้ยารามีร่า แอ็ดว้านซ์ 21-7-14 ที่สวนก็จะใช้ 3 สูตรนี้เป็นหลัก”

“ปุ๋ยยารามีร่าสูตร 25-7-7 ซึ่งสูตรนี้จะมีไนโตรเจนเยอะประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ยางแตกฉัตรไว ต้นจะโตไว ยอดมันจะพุ่งสูงไวมาก ช่วงนี้เราจะสลับมาใช้ปุ๋ยสูตรยารามีร่า 15-15-15 เพื่อลดตัวไนโตรเจนลงมา ป้องกันไม่ให้ต้นยางหักง่าย ทีนี้เราก็จะได้ต้นยางที่สมบูรณ์ ถ้าต้นยางโตเกิน 50 เซนติเมตร วัดจากรอบวง ก็จะเปิดกรีดได้  ปกติต้นยางหนึ่งต้นเราสามารถเปิดกรีดได้ตอนเข้าปีที่ 7 แต่ถ้าเราใช้สูตรนี้ ปีที่ 5 ปีที่ 6 ก็เปิดกรีดได้เลย เพราะเราได้ลำต้นที่สมบูรณ์แล้วไม่ต้องรอถึงปีที่ 7 เหมือนต้นยางทั่ว ๆ ไป พอต้นกรีดได้แล้ว เราจะบำรุงด้วยปุ๋ยสูตรยารามีร่า แอ็ดว้านซ์ 21-7-14 ตรงนี้จะใช้เป็นระยะยาวเลย ซึ่งจะทำให้ต้นยางลำต้นใหญ่และน้ำยางออกได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

 “ปุ๋ยยาราก็ซื้อหาง่ายมาก เดี๋ยวนี้ทันสมัย จะสั่งปุ๋ยเข้าสวนที ก็สั่งผ่านแอพพลิเคชั่นเอา เขาเรียกว่า “ยาราโบเดก้า” สั่งง่ายนิดเดียว แถมมีส่วนลดให้ด้วย มีแบบนี้มันก็สะดวกสบายขึ้น แถมยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนไปได้เยอะ”  

rubber farmer

ทำไมต้องเป็นปุ๋ยยารา?

“เกษตรกรที่ปลูกยางพารา เขาต้องการอะไร? ต้องการน้ำยางที่เยอะ ต้องการเปอร์เซ็นต์น้ำยางที่สูง ต้องการต้นยางที่ใหญ่ ใช่ไหม! นี่แหละปุ๋ยยารา ตอบโจทย์ได้ตรงจุดที่สุด เมื่อได้ผลผลิตดี ขายได้ราคาดี เราก็หายเหนื่อยจริงไหม”

การเกษตรแบบยั่งยืนในแบบฉบับของเฮียประมุข!

“ข้อดีของปุ๋ยยารา คือ เป็นปุ๋ยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีไนโตเจนอยู่ในรูปไนเตรท ช่วยให้ต้นยางพาราได้รับธาตุอาหารที่เพียงพอ และ ไม่เพิ่มความเป็นกรดให้กับดิน นี่คือจุดเด่นของยารา เขาพิถีพิถันมาตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตแล้ว แถมเก็บไว้ได้นานไม่เป็นก้อน และละลายได้ดีด้วย”

สัมภาษณ์ประสบการณ์จริงจากเกษตรผู้ใช้ยารา เฮียประมุข