คุณอาทิตย์ เกษมศรี
เกษตรกรผู้ปลูกสวนมะม่วง จังหวัดเชียงใหม่
คุณอาทิตย์ เกษมศรี เกษตรกรชาวสวนมะม่วงแห่งจังหวัดเชียงใหม่ กับประสบการณ์การทําสวนไม้ผลมากว่า 20 ปี กล่าวว่า แต่เดิม พื้นที่แห่งนี้ เป็นสวนไผ่ กระทั่งไผ่ที่ปลูกออกดอกและตายทั้งหมดเมื่อปี 2533 จึงเปลี่ยน มาทําสวนไม้ผลคือ กระท้อน แต่พบปัญหาเรื่องแรงงาน ทําให้เปลี่ยน ความคิดใหม่ว่า ควรปลูกพืชที่สร้างอาชีพและสร้างรายได้อย่างจริงจัง สุดท้ายมาลงตัวที่มะม่วง เพราะเป็นพื้นที่ที่ปลูกมะม่วงอยู่แล้ว มีตลาดส่งขาย ที่แน่นอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเลือกปลูกพันธุ์ที่ตลาดต้องการ เช่น พันธุ์น้ําดอกไม้สีทอง พันธุ์นวลคํา พันธุ์มันขุนศรี
ระบบบริหารจัดการที่ดี ผลผลิตจึงมีคุณภาพ
สวนมะม่วงแห่งนี้ได้รับการรับรองมาตฐาน GAP ทุกขั้นตอน การผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ คุณอาทิตย์ให้คําแนะนําเกี่ยวกับ ขั้นตอนการปลูกและดูแลมะม่วงว่า ระยะห่างระหว่างต้นที่เหมาะสม คือ 5X5 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะม่วงได้ 64 ต้น ช่วงแรกที่ปลูกลงแปลงใหม่ๆ เน้นการใส่ปุ๋ยหมัก จนมะม่วงมีอายุ 4 ปี ซึ่งเริ่มโตและให้ผลผลิตได้แล้ว จะดูแลด้วยการบํารุงต้นให้ได้รับธาตุอาหารพืชอย่างสมบูรณ์ เช่น การให้ปุ๋ย ที่มีคุณภาพ ในแต่ละปีจึงมีผลผลิตคุณภาพออกสู่ตลาด ส่วนการป้องกัน โรคและแมลงจะดูแลตามฤดูกาล เพราะแต่ละปีนั้นโรคและแมลงที่พบ จะแตกต่างกันไป
ปุ๋ยยารา ตัวช่วยสําคัญ
คุณอาทิตย์บอกเคล็ดลับว่า เมื่อเก็บผลผลิตหมดสวนแล้ว รอบ การผลิตใหม่ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมจะทําการตัดแต่งกิ่ง พร้อมทั้ง ใส่ ปุ๋ยยารามีร่า 16-16-16 ผสมกับ ปุ๋ยยาราลีว่า ในตราบอร์ 15-0-0 เพื่อบํารุงต้นให้เกิดยอดอ่อนที่ไว จะได้ยอดใหม่เกิดขึ้นตาม ระยะเวลาที่กําหนด จากนั้นดูแลต่อไปเรื่อย ๆ จนออกช่อดอกและติด เป็นผลช่วงนี้จะใส่ ปุ๋ยยารามีร่า 16-16-16 อีกครั้ง ประมาณ 500 กรัม ต่อต้นสลับกับปุ๋ยหมัก เมื่อเข้าสู่ช่วงติดผล หากผลมีจํานวนมากเต็มต้น สามารถเสริมด้วย ปุ๋ยยารามีร่า 16-16-16 เพิ่มได้ ดูแลห่อผลให้ดี จะได้ ผลผลิตเต็มที่พร้อมนําไปจําหน่ายได้
เหตุผลที่คุณอาทิตย์เลือกใช้ปุ๋ยยารา เพราะเป็นปุ๋ยดีมีคุณภาพ เป็นปุ๋ยคอมปาวด์ที่มีธาตุอาหารครบทุกตัวใน 1 เม็ด พืชนําไปใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลานาน ส่งผลให้การทํางานในขั้นตอนต่อไปง่ายขึ้น ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม และมะม่วงแต่ละผลมีคุณภาพ
คุณอาทิตย์ได้ฝากข้อคิดไว้ว่า การจะทําสวนมะม่วงให้ประสบผลสําเร็จ และเป็นอาชีพที่ยั่งยืนได้นั้น ต้องมี “ดี” จริง ๆ คือ “มีปุ๋ยดี มียาดี มีแหล่งน้ําดี และมีสภาพดินดี”