คุณจำลอง คุ้มวงษ์ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่งออก จังหวัดจันทบุรี

 

durian farmer

 

เป็นเวลากว่า 35 ปี ที่พี่จำลอง คุ้มวงษ์ ทำอาชีพรับราชการ ควบคู่ไปกับการเป็นเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ในอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในเรื่องการปลูกทุเรียนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

  “ก่อนหน้านี้ผมรับราชการ แล้วก็ทำสวนไปด้วย พอว่างจากราชการ ผมก็มาทำสวนตอนกลางคืน ไปให้ปุ๋ยบ้าง ให้น้ำบ้าง ออกไปพ่นยาตอนตีสองตีสามบ้าง ตอนนี้ผมเกษียณแล้วออกมาทำสวนเต็มตัว ผมทำสวนยางพารามาก่อน แล้วก็เปลี่ยนมาทำสวนทุเรียนจริง ๆ จัง ๆ ตอนปี 2531 เริ่มแรกก็แค่ 12 ไร่ หลัง ๆ ก็เริ่มขยายเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 30 กว่าไร่ ไร่หนึ่งมีประมาณ 22 ต้น ถ้าต้นใหญ่ ๆ หนึ่งต้นผมได้ทุเรียนประมาณ 100 ลูก คิดรวม ๆ แล้วผลผลิตที่ได้ประมาณ 2 ตันต่อไร่ครับ”  

ทุเรียนจันทบุรีราชาแห่งผลไม้

“จุดเด่นของทุเรียนจันทบุรี คือ เนื้อละเอียด เนียน เหนียว มัน ไม่เละ ผมคิดว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย แต่ดูแลยาก ทุเรียนจะชอบอากาศร้อนชื้น ดินต้องร่วน เป็นดินที่มีกรวด มีทรายเม็ดใหญ่ และต้องระบายน้ำได้เร็ว พื้นที่ที่ปลูกก็สำคัญ รวมถึงสภาพอากาศด้วย จันทบุรีคงเป็นภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับทุเรียนมั้งนะ สวนทุเรียนที่นี่มีเป็นร้อย ๆ ไร่ มีหลากหลายสายพันธุ์ หลัก ๆ ก็จะเป็นพันธุ์หมอนทอง เพราะหมอนทองสามารถนำไปแปรรูปได้ นำไปกวนได้ ทอดได้”

หัวใจหลักในการดูแล เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี 

“นอกจากสภาพอากาศ แสงแดด และลม สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ก็คือ การบำรุงใส่ปุ๋ย ต้นที่จะให้ผลผลิตที่ดีต้อง 5 ปีขึ้นไป ต้นจะสูง 8-9 เมตร แต่ผมยังไม่ตัดยอดมันนะ จะตัดยอดตอนต้นอายุ 7 ปี ตัดยอดลงมาให้มันแตกใบใหม่ บังคับให้มันออกด้านข้างเพื่อไม่ให้ต้นสูงจนเกินไป ถ้าต้นสูงมากการจัดการจะลำบาก”

“การบำรุงต้นให้แตกใบ เพื่อเตรียมความพร้อมปลูกรอบต่อไป ปกติแล้วจะทำใบสัก 2-3 รอบใบ รอบหนึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ช่วงระยะฟื้นต้นนี้ ผมจะใช้ปุ๋ยยารามีร่า 16-16-16 ผสมกับยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0 ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง กระตุ้นให้ต้นแตกใบอ่อน ช่วงเตรียมทำดอก ช่วงที่ใบเพสลาด ช่วงนี้สำคัญ ผมจะใช้ยารามีร่า ดับเบิล 8-24-24 รอไปอีกประมาณ 20 วัน หว่านยารามีร่า ดับเบิล 8-24-24 ซ้ำอีกรอบ และช่วงบำรุงลูก ขยายผล ผมจะใช้ยารามีร่า คอมเพล็กซ์ 12-11-18 ใช้คู่กับยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0 เพื่อช่วยให้ขยายลูก เบ่งพู และสร้างเปลือกให้ทรงสวย ก่อนจะตัด 1 สัปดาห์ ผมจะใช้ยารามีร่า 16-16-16 ซ้ำอีกรอบหนึ่ง เพื่อไม่ให้ต้นเขาโทรม หลังจากนี้เตรียมเก็บเกี่ยวได้เลย ผมเคยได้ทุเรียนลูกใหญ่สุด 13 กิโลกรัมเลยนะ ล่าสุดที่ผมตัดทุเรียนชุดแรกไป เป็นเกรด AB ผมได้กิโลกรัมละ 250 บาทเลยครับ”

durian farmer

ยาราคุณภาพยืนหนึ่ง ถูกใจเกษตรกร

“ผมโชคดีหรือเปล่าไม่รู้นะ ผมเจอแต่ทีมงานของยาราทุกรุ่น ทุกชุดดีหมด ผมเองก็พยายามหาความรู้เพิ่มเติมตลอด เขาให้คำแนะนำที่ดี จริงใจ อธิบายเข้าใจง่าย สมัยก่อนเกษตรกรมีปุ๋ยใช้หว่านก็หว่าน ๆ ไป หว่านไม่มีเหตุมีผล ไม่รู้ว่าช่วงนี้ควรใส่ตัวไหน แต่พอมีทีมนักวิชาการยาราเข้ามา เขาจะช่วยแนะนำว่าควรจะใช้ปุ๋ยสูตรไหน ใช้ช่วงไหนถึงจะเหมาะสม เกษตรกรอย่างเรามีแค่ประสบการณ์ นักวิชาการยาราเขามีทฤษฎี มีความรู้ พอมาร่วมกันไปได้ไกลเลยทีนี้ เรียกได้ว่ามีความผูกพันไปแล้วดีกว่า (หัวเราะ) ส่วนเรื่องคุณภาพของปุ๋ยยารา ใคร ๆ ก็รู้กันอยู่แล้วว่าของเขาดี หว่านก็ง่าย ถ้าใช้ให้ถูกเวลา ถูกสูตร ผลลัพธ์ที่ได้ก็ดีอย่างที่เห็นเลยครับ ล่าสุดน้อง ๆ ก็มาแนะนำแอปพลิเคชันฟาร์มแคร์ (FarmCare) แอปพลิเคชันดี ๆ ที่มีส่วนลดให้เกษตรกรอย่างเราด้วย ผมว่าสะดวกมาก ๆ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนไปได้เยอะเลยครับ”

  “พื้นฐานผมไม่ได้มีอะไรเยอะ ผมเป็นคนยากคนจน สมบัติที่ผมมีทุกวันนี้ก็ได้มาจากการทำสวนตรงนี้ ราคาทุเรียนเริ่มหลักร้อยประมาณปี 2559 ตีไปกิโลกรัมละ 100 บาท ปีนี้น่าจะขึ้นเป็น 250 บาท แล้วมั้ง ผลไม้อย่างอื่นมันยากที่จะตีราคาออกมาเป็นตัวเงินได้ขนาดนี้ แถมมีคนมารับซื้อถึงสวนเลย ผมก็แค่นั่งมองตาชั่ง รับเงิน จบ ทุเรียนให้รายได้เราเยอะ เราก็ต้องตอบแทนเขาด้วยการบำรุงเขาดี ๆ ใช้ปุ๋ยดี ๆ อย่างปุ๋ยยารานี่แหละเหมาะสมที่สุด”  

สัมภาษณ์ประสบการณ์จริงจากเกษตรผู้ใช้ยารา คุณจำลอง คุ้มวงษ์