คุณสุวิมล ปฐมเพทาย
เกษตรกรผู้ปลูกคะน้า อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
คุณสุวิมล เป็นลูกเกษตรกร ช่วยพ่อแม่ทำเกษตรมาตั้งแต่เรียนจบ เมื่อแต่งงานมีครอบครัวก็ยังคงรักในความเป็นเกษตรกร เมื่อก่อนปลูกพืชหลายชนิด ก่อนจะปรับเปลี่ยนมาปลูกผักคะน้ามานานกว่า 20 ปี ศึกษาลองผิดลองถูกกับกลุ่มเพื่อนๆ จนปัจจุบันเป็นเจ้าของพื้นที่กว่า 50 ไร่ โดยปลูกต้นหอม และขึ้นฉ่ายเพิ่มเติมด้วย
หัวใจสำคัญของการบำรุงผักคะน้า คือ “ปุ๋ย”
คุณสุวิมล บอกว่า “ปุ๋ย” คือหัวใจสำคัญ ของการบำรุงคะน้า ซึ่งได้มีการศึกษา สอบถาม ลองผิดลองถูกกับกลุ่มเพื่อนที่ปลูกผักใบด้วยกัน จนมาเจอปุ๋ยยารา คุณสุวิมลบอกว่าใช้แล้วเห็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ถูกใจมากเพราะได้ผลผลิตที่ดี ลำต้นใหญ่ ใบหนา เขียวนวล น้ำหนักดี สวยถูกใจ เลยใช้ปุ๋ยยารามาตั้งแต่วันนั้น จนวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว
เทคนิคการบำรุงคะน้าให้ ลำต้นใหญ่ ใบหนา เขียวนวล น้ำหนักดี
ระยะที่ 1 หลังปลูก 14 วัน
1. หลังหว่านเมล็ดไปได้ 14-10 จะเริ่มการให้ธาตุอาหารลงดิน
ใช้ “ยารามีร่า 16-16-16” ในอัตรา 20 กก. ต่อไร่ ร่วมกับ “ยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0” ในอัตรา 10 กก. ต่อไร่ ผสมและหว่านลงดิน เพื่อทำให้คะน้าเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเป็นกระตุ้นการแตกรากของลำต้น และใบ อีกทั้งยังช่วยให้พืชมีความต้านทานโรคและแมลง
2. นอกจากนั้นคุณสุวิมลยังให้ความสำคัญของการให้ธาตุอาหารเสริมกับคะน้า
ใช้ “ยาราวีต้า แม็กแทร็ก” และ “ยาราวีต้า ซิงค์แทร็ก” ในอัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นลงใบจำนวน 2 ครั้ง ต่อระยะ 10-14 วัน เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางใบ ให้ใบยืด ขยายใหญ่ และเขียวนวล
ระยะที่ 2 หลังปลูก 21 วัน
ภายหลังจากปลูก 21 วันแล้ว ก็จะเสริมธาตุอาหารให้ผักใบทางดินอีกครั้ง ด้วย “ยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0” ในอัตรา 20-30 กก. ต่อไร่
ระยะที่ 3 หลังปลูก 28 วัน
ช่วงคะน้ามีอายุประมาณ 37 - 40 วัน จะใส่ปุ๋ยยาราบำรุงคะน้าอีกครั้ง เพื่อให้คะน้าโตเต็มที่ มีลำต้นที่อวบใหญ่ ใบเขียวหนา ขึ้นนวลดี ด้วยการใช้ “ยารามีร่า วินเนอร์” ในอัตรา 50 กก. ต่อไร่ ร่วมกับ “ยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0” ในอัตรา 25 กก. ต่อไร่ หว่านลงแปลงปลูกอีกครั้ง เพื่อเสริมธาตุอาหารลงดินให้พืชเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อสร้างความแข็งแรงและมีอายุหลังการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้น หลังจากนั้นรออีก 5 - 10 วัน ก็จะเข้าสู่การเก็บเกี่ยวคะน้าไปขาย
เมื่อครบอายุการเก็บเกี่ยว คุณสุวิมลจะให้ทางตัวแทนรับซื้อ พร้อมคนงาน มาเก็บเกี่ยวผลผลิตที่แปลงเพื่อนำส่งขายที่ตลาด โดยผลผลิตที่ได้จากแปลงของคุณสุวิมลนั้น จะเป็นผลผลิตที่ “ลำต้นใหญ่ ใบหนา เขียวนวล น้ำหนักดี” ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด “จากการใช้ปุ๋ยยารา ทำให้การทำอาชีพเกษตรกรปลูกผักคะน้าได้ผลผลิตที่ดี ขายได้กำไร ผักเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น ตัดสินใจถูกที่เลือกใช้ยารา เพราะใช้แล้ว คุ้มค่าจริงๆ” คุณสุวิมลกล่าวทิ้งท้าย