เทคนิคป้องกันอ้อยขาดธาตุ

อ้อย นับเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก และเมื่อปลูกครั้งหนึ่งแล้ว สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง แต่การจะได้มาซึ่งผลผลิตอ้อยที่สมบูรณ์นั้น เราจะต้องรู้ว่าธาตุอาหารที่อ้อยต้องการมีอะไรบ้าง และหากขาดธาตุต่างๆเหล่านี้ อ้อยจะแสดงอาการอย่างไร  ซึ่งวันนี้คุณพีจย์ กวิสรา จันทร์ชู นักวิชาการเกษตร ยารา (ประเทศไทย) จะมาไขข้อข้องใจดังนี้

อาการขาดธาตุอาหาร ในอ้อย

Sugarcane

อาการขาดธาตุอาหารในอ้อย มักเกิดจากการขาดธาตุอาหารหลัก 3 ชนิด คือ โนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หรือ NPK นั่นเอง

1. ลักษณะอ้อยที่ขาดธาตุไนโตรเจน

จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลำต้น ลำต้นมีการเจริญเติบโตลดลง ระบบรากไม่แข็งแรง การแตกรากไม่ค่อยดี ลำต้นแคระแกร็น ขนาดข้อปล้องสั้นลง ลำต้นเล็กเรียว

2. ลักษณะอ้อยที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส

อาการหลักๆจะเกิดที่ใบข้าวโพด สังเกตได้จากการเปลี่ยนสีของยอดใบแก่

3. ลักษณะอ้อยที่ขาดธาตุโพแทสเซียม

มักจะเกิดที่ระบบราก ทำให้ระบบรากแคระแกร็น การเจริญเติบโตช้าลง และยังส่งผลต่อความหวานของอ้อยและขนาดลำของอ้อยอีกด้วย

ปุ๋ยดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ยารามีร่า 23-8-8 คือ ปุ๋ยสูตรเด็ดที่นักวิชาการแนะนำเป็นพิเศษสำหรับอ้อย เพราะอุดมด้วยธาตุอาหารหลัก 3 ชนิด คือ ไนโตรเจน (N)ที่ช่วยเรื่องการเจริญเติบโต ทำให้ระบบรากแข็งแรง , ฟอสฟอรัส(P) ช่วยเรื่องการดูดซึมธาตุอาหาร และโพแทสเซียม (K) ช่วยเรื่องความหวานของอ้อย หรือค่า C.C.S ถ้าความหวานยิ่งเยอะ ราคาอ้อยจะยิ่งดีขึ้น

เพื่อความสมบูรณ์ แนะนำให้เสริมด้วย ยารามีร่า แอ็ดวานซ์ 21-7-14  เพื่อช่วยให้อ้อยแตกกอดี  ลำต้นอวบ สูง ใหญ่ น้ำหนักดี และมีค่าความหวานสูง

พิสูจน์ชัด ความโดดเด่นของแปลงอ้อยที่ใช้ปุ๋ยยารา

จากการลงพื้นที่ของนักวิชาการ จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนว่า แปลงที่ใช้ปุ๋ยยาราอ้อยมีขนาดลำอวบมาก ระบบรากค่อนข้างแข็งแรง ที่สำคัญคืออ้อยค่อนข้างสูง (ประมาณ2 เมตรกว่า - 3 เมตร) การแตกกอดีมาก ใน 1 กอ สามารถแตกได้ถึง 7-8 ลำ  และปริมาณผลผลิตที่ได้ยังสูงอีกด้วย

นักวิชาการยารา พบเกษตรกร

ชมก่อน รู้ก่อน! สูตรลับปุ๋ยเพิ่มผลผลิตอ้อยครับ คุณพีจย์ (กวิศรา จันทร์ชู) นักวิชาการเกษตร บริษัท ยารา ประเทศไทย จำกัด แนะนำปุ๋ยคุณภาพสำหรับอ้อย กับยารามีร่าสูตร 23-8-8 เพราะมีธาตุอาหารหลักครบถ้วน เป็นอย่างไรติดตามชมได้ในคลิปวิดิโอเลยคร้าบ

เสียงจริงเกษตรกรยารา

พี่ดิษฐ์เริ่มชีวิตเกษตรกรเมื่ออายุ 17 ลองผิดลองถูกมาเยอะ จนค้นพบว่า ต้องใช้ปุ๋ยดีมีคุณภาพ ถึงจะให้ผลผลิตสูง เมื่อก่อนปลูกได้ 10 ตัน แต่วันนี้ทำได้เกือบ 20 ตันต่อไร่! บนพื้นที่ 500 ไร่ที่จ.ชลบุรี